วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

  1.เทคโนโลยีสารสนเทศ  
  เทคโนโลยีสารสนเทศ (Infornation Technology : IT) หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้สร้างข้อมูลเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง ขั้นตอนวิธีการดำเนินการซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล เกี่ยวกับบุคลากร เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด  สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับความจริงของคน สัตว์ สิ่งของ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม หากมีการจัดเก็บรวบรวม เรียกค้น และสื่อสารระหว่างกัน นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ สารสนเทศมีความหมายที่กว้างไกล ซึ่งนักเรียนจะได้เรียนเพิ่มเติมต่อไป
   พ.ศ. 2523 ความเจริญก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลข้อมูลเป็นไปอย่างกว้างขวาง มีการส่งถ่ายข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศและเริ่มเมื่อไม่นานมานี้เอง เมื่อราว พ.ศ. 2500 เทคโนโลยีสารสนเทศยังไม่แพร่หลายนัก จะมีเพียงการใช้โทรศัพท์เพื่อการติดต่อสื่อสารและเริ่มมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยประมวลผลข้อมูล งานด้านสารสนเทศอื่น ๆ ส่วนใหญ่ยังคงเป็นงานภายในสำนักงานที่ยังไม่มีอุปกรณ์และเครื่องมือด้านเทคโนโลยีมาช่วยงานเท่าใดนัก
 เมื่อมีการประดิษฐ์คิดค้นอุปกรณ์ช่วยงานสารสนเทศมากขึ้น เช่น เครื่องถ่ายสำเนาเอกสาร เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า เครื่องโทรสาร และเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ อาชีพของประชากรก็ปรับเปลี่ยนมาสู่งานด้านสารสนเทศมากขึ้น งานด้านสารสนเทศมีแนวโน้มขยายตัวที่ค่อนข้างสดใส เพราะเทคโนโลยีด้านนี้ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนอย่างเต็มที่ด้วยการพัฒนาค้นคว้าวิจัยให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ ออกมาตอบสนองความต้องการของมนุษย์อยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้มนุษย์ยังเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีมากขึ้น เทคโนโลยีเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งของมนุษย์ ซึ่งทำให้มนุษย์ได้รับความสะดวกสบายและประสบความสำเร็จในงานด้านต่าง ๆ เช่น เทคโนโลยีทางด้านอวกาศ ทางด้านการผลิต ทางด้านอุตสาหกรรม และทางด้านพาณิชยกรรมเป็นต้น
   2.คอมพิวเตอร์  

   วิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนาต่อๆ กันมาอย่างรวดเร็วทำให้วิทยาการด้านคอมพิวเตอร์ มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อาจกล่าวได้อีกว่าโลกของวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นมี การเคลื่อนไหวเสมอ(dynamics) พัฒนาการดังกล่าวกลับไม่ค่อยยืดหยุ่น เพราะหากเกิดความผิดพลาด ในกลไกเพียงเล็กน้อย บางครั้งก็อาจเป็นบ่อเกิดปัญหาที่ใหญ่โตมหาศาลได้ นอกจากนี้การพัฒนาคอมพิวเตอร์ยังนับได้ว่าเป็นโลกที่ควบคุมไม่ได้ หรือสามารถจัดการได้น้อย กล่าวคือ ทันทีที่คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยโปรแกรม เครื่องก็ปฏิบัติงานไปตามโปรแกรมด้วยตนเอง และขณะที่เครื่องทำงานอยู่นั้นมนุษย์จะไม่สามารถควบคุมได้     
    คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1 (พ.ศ. 2497-2501) คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้หลอดสูญญากาศ (Vacuum tube) เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องยังมีขนาดใหญ่มาก ใช้กระแสไฟฟ้าจำนวนมาก        
    คอมพิวเตอร์ยุคที่2 (พ.ศ. 2502-2507) คอมพิวเตอร์ยุคนี้ใช้ทรานซิสเตอร์ (Transistor) เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และใช้วงแหวนแม่เหล็กเป็นหน่วยความจำ  คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กกว่ายุคแรก ต้นทุนต่ำกว่า ใช้กระแสไฟฟ้าน้อย
    คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3 (พ.ศ. 2508-2513)    คอมพิวเตอร์ยุคนี้ใช้วงจรไอซี (Integrated Circuit)  เป็นสารกึ่งตัวนำที่สามารถบรรจุวงจรทางตรรกะไว้แล้วพิมพ์บนแผ่นซิลิกอน (Silicon) เรียกว่า "ชิป"
    คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4 (พ.ศ. 2514-2523)    คอมพิวเตอร์ยุคนี้ใช้วงจร LSI (Large-Scale Integrated Ciruit) เป็นการรวมวงจรไอซีจำนวนมากลงในแผ่นซิลิกอนชิป 1 แผ่น สามารถบรรจุได้มากกว่า 1 ล้านวงจร ด้วยเทคโนโลยีใหม่นี้ทำให้เกิดแนวคิดในการบรรจุวงจรที่สำคัญสำหรับการทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์นคือ CPU ลงชิปตัวเดียว เรียกว่า "ไมโครโปรเชสเซอร์" 
    คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5 (พ.ศ. 2524-ปัจจุบัน)  คอมพิวเตอร์ยุคนี้ใช้วงจร VLSI (Very Large-Scale Integrated Ciruit) เป็นการพัฒนาไมโครโปรเซสเซอร์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

     3.อินเตอร์เน็ต 
     อินเตอร์เน็ต"(Internet)มีพัฒนาการมา จากอาร์พาเน็ต ( ARPAnet ) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ การรับผิดชอบของ อาร์พา ( Advanced Research Projects Agency ) ในสังกัดกระทรวงกลาโหม ของสหรัฐอเมริกาอาร์พาเน็ต ถือกำเนิดก่อตั้งมา  เมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960 หรือ พ.ศ.2503นั้นเอง ซึ่งเป็นโครงการของ ARPAnet(Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยใช้ทางการทหารในสมัยนั้น แต่ ARPAnet ก็ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนกลายมาเป็น อินเตอร์เน็ต (Internet)  ค.ศ.196 (พ.ศ.2512) ARPAnet ได้รับทุนสนันสนุน จากหลายฝ่าย ซึ่งหนึ่งในผู้สนับสนุนก็คือ Edward Kenedy และเปลี่ยนชื่อจาก ARPA เป็น DARPA(Defense Advanced Research Projects Agency) และก็มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่างขึ้นมา  ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) ได้มีทดลองการเชื่อมต่อ Computerจาก มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยยูทาห์  เข้าหากันเป็นครั้งแรก และการเชื่อมต่อ computer นี้ก็ประสบผลำเร็จ  ค.ศ.1975(พ.ศ.2518) เครือข่ายทดลอง ได้ถูกนำมาเป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริงๆจังๆ โดยมี หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency – ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) รับหน้าที่รับผิดชอบ โดยตรง  แต่ในปัจจุบัน Internet มีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหาร เครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในInternet, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ Internet ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัคร ทั้งสิ้น ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) Protocal TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) ได้ถูกนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet และปัจจุบันนี้ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้จะต้องเพิ่ม TCP/IP ลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทุก platform คุยกันรู้เรื่อง และสื่อสารกันได้อย่างถูกต้องการกำหนดชื่อโดเมน (Domain Name System) มีขึ้นเมื่อ ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เพื่อสร้างฐานข้อมูล แบบกระจาย (Distribution database)อินเตอร์เน็ตคือข้อมูลที่ผ่านทางอินเตอร์เน็ตเพื่อให้ได้รับข้อมูลอย่างรวดเร็ว

หลักการจัดกระบวนการการเรียนการสอน

การสอน หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ ไปสู้ผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายการเรียนรู้
ระบบการสอน หมายถึง การดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องการจัดการเรียนการสอนอย่างมีขั้นตอน มีระบบระเบียบที่จะทำให้การสอนนั้นบรรลุจุดมุ่งหมายการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
ยุทธศาสตร์การสอน หมายถึง ยุทธวิธีในการที่จะคิดให้ได้หลักการเรียนการสอน กระบวนการ วิธีการและเทคนิคที่นำมาปฏิบัติเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการสอน
หลักการสอน หมายถึง ความเชื่อ ปรัชญา ทฤษฎี หลักการเกี่ยวกับการสอน ซึ่งอาจนำมาใช้เป็นพื้นฐานในการวางรูปแบบ กระบวนการ และวิธีการสอน
รูปแบบการจัดการเรียนการสอน หมายถึง สภาพหรือลักษณะของการเรียนการสอนที่จัดขึ้นตามปรัชญา ทฤษฎี หลักการ แนวความคิด และหรือความเชื่อต่างๆ โดยอาศัยวิธีการสอน และเทคนิคการสอนต่างๆ เข้ามาช่วยให้สภาพการจัดการเรียนการสอนเป็นไปตามหลักการที่ยึดถือ
วิธีการสอน หมายถึง วิธีการต่างๆ ที่นำมาใช้เพื่อช่วยให้การจัดการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆ บรรลุเป้าหมาย วิธีการสอนแต่ละวิธีย่อมประกอบไปด้วยลักษณะอันเป็นจุดเด่นเฉพาะของวิธีการนั้นๆ และกระบวนการอันเป็นหลักในการดำเนินการตามวิธีการนั้น
เทคนิคการสอน หมายถึง กลเม็ดต่างๆ ที่นำมาใช้เพื่อช่วยให้วิธีการหรือกระบวนการใดๆ ในการจัดการเรียนการสอนบรรลุตามจุดมุ่งหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ (วัฒนาพร , 2532)
ความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนกับการสอน
จากความหมายของคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนดังกล่าวข้างต้น จะให้ได้ว่า การเรียนกับการสอนเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสถานการณ์เดียวกัน คือ การสอนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ การสอนเกิดขึ้นจากตัวผู้สอนหรือครู แต่การเรียนรู้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน เป็นสิ่งที่ควบคู่กันไป (หมายรวมเฉพาะการเรียนรู้ที่ตั้งไว้ให้เกิดขึ้น มีการกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ไว้ล่วงหน้า)

รูปแบบการจัดกระบวนการการเรียนการสอน

  ในการจัดกระบวนการเรียนการสอน มีจุดมุ่งหมายหลักคือ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ บรรลุจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ตามที่ได้กำหนดไว้ (รายละเอียดเรื่องจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ได้เสนอไว้ในหัวข้อของแผนการสอน) โดยมุ่งหวังในภาพรวมที่จะให้ผู้เรียนเมื่อเกิดการเรียนรู้แล้ว จะมีคุณลักษณะที่สำคัญ 3  ประการ คือ เป็นคนเก่ง เป็นคนดี และเป็นคนที่มีความสุข ซึ่งในการที่จะพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ดังกล่าวนั้น การจัดกระบวนการเรียนการสอนจะต้องมีลักษณะสำคัญ ดังนี้           
    1. เป็นกระบวนการทางปัญญา พัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
2. ก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข เน้นประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ
3. บูรณาการสาระการเรียนรู้ที่สอดคล้อง
4. เป็นกระบวนการคิด การปฏิบัติจริง นำไปใช้ประโยชน์ได้
5. เป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันโดยมีผู้เรียน ผู้สอนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและจัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

ลักษณะของภูมิปัญญาพื้นบ้าน

พัฒนาการของภูมิปัญญาชาวบ้าน
ภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นในช่วงที่กระแสวิพากษ์วิจารณ์ทิศทางการพัฒนาประเทศกำลังแพร่หลายในสังคมไทย หรือเมื่อประมาณ 20 กว่าปีที่ผ่านมา ผลจากการปะทะกันของความคิดสองกระแสดังกล่าวข้างต้น ช่วยให้สังคมไทยมีโอกาสทบทวนแนวคิดและทิศทางการพัฒนาในอดีต แสวงหาทางเลือกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสังคมของเรา
การพัฒนาชนบท ซึ่งเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับชีวิตผู้คนจำนวนมากที่สุดในประเทศไทยนั้น แต่เดิมเป็นหน้าที่หรืองานของรัฐ กิจกรรมหรืองานพัฒนาในยุคแรกๆเกิดขึ้นบนพื้นฐานการมองประชาชนในฐานะโง่ จน เจ็บ ขาดความรู้เรื่องการทำมาหากิน ล้าหลัง ไม่ทันสมัย และด้อยพัฒนา เจ้าหน้าที่และหน่วยงานของรัฐจึงมีหน้าที่เข้าไปช่วยเหลือคนเหล่านั้นให้มีความรู้และรายได้เพิ่มขึ้น โดยการฝึกอบรมอาชีพ จัดหาแหล่งทุน และบางครั้งก็ช่วยจัดการด้านการตลาด บทบาทของชาวบ้านเป็นเพียงผู้รับ ส่วนรัฐเป็นผู้ให้ แนวทางการพัฒนานี้ได้กลายเป็นหลักในการทำงานในช่วง 20 ปีแรกของการพัฒนาชนบทไทย คือระหว่าง พ..2503-2523
แม้ว่าในช่วงเวลาดังกล่าว แนวคิดในการพัฒนาชนบทไทยจะเปลี่ยนไปบ้าง จากการเน้นเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มรายได้ให้ประชาชนมาเป็นแนวเศรษฐกิจ-สังคม เพราะเห็นว่าการพัฒนาต้องกะทำควบคู่กันทั้งสองด้าน จึงนำเรื่องกลุ่มเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่วิธีทำงานก็ยังไม่เปลี่ยนไปจากเดิม คือหน่วยงานและเจ้าหน้าที่รัฐเป็นผู้กำหนดและมีบทบาทสำคัญเหนือชาวบ้านตลอดมา
ปี พ..2524 ได้เกิดปรากฎการณ์สำคัญที่นำไปสู่การพลิกโฉมการพัฒนาชนบทไทยในเวลาต่อมา กล่าวคือ องค์กรเอกชน (Non-Government Organization =NGO) ที่ทำงานด้านการพัฒนาชนบทจำนวนหนึ่งได้ร่วมกันวิเคราะห์งานที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนั้น พร้อมกับตั้งคำถาม 25 ข้อ และจัดพิมพ์เป็นหนังสือเล่มเล็กๆชื่อ ใครพัฒนาใคร คำถามเหล่านี้เกิดจากงานพัฒนาที่ทำไปแล้วได้สร้างปัญหาให้ชาวบ้านมากมาย และวิธีการทำงานก็ยังเป็นแบบเดิม คือการสอน การบอกเล่า การจัดกระบวนการ และช่วยชาวบ้านทำงาน
ความหมายของภูมิปัญญาชาวบ้าน

3.1     การให้ความหมาย  นักวิชาการและผู้ที่เกี่ยวข้อง สนใจงานด้านภูมิปัญญาต่างเห็นพ้องต้องกันในการให้ความหมายภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่ให้ความสำคัญต่อองค์ความรู้  ความรู้ และความรอบรู้ในด้านต่างๆของชาวบ้าน และชาวบ้านสามารถนำสิ่งเหล่านั้นมาใช้แก้ปัญหาที่ต้องประสบในชีวิตประจำวัน เพื่อให้ชีวิต ครอบครัว และชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข หรือเกิดดุลยภาพในทุกระดับ

3.2     องค์ประกอบ การให้ความหมายดังกล่าวข้างต้น ทำให้สามารถแยกองค์ประกอบของภูมิปัญญาชาวบ้านให้เห็นเด่นชัดขึ้น ดังนี้
1)  องค์ความรู้  หมายถึง ความรู้หลายอย่างมาเชื่อมโยงกันเป็นชุดความรู้  ด้วยเหตุนี้ กิจกรรมใดของชาวบ้านจะถูกยกให้เป็นกิจกรรมทางภูมิปัญญาก็ต่อเมื่อได้รับการพิสูจน์แล้วว่ากิจกรรมนั้นเกิดจากองค์ความรู้ ไม่ใช่ความรู้เดียว
ตัวอย่าง เกษตรธาตุสี่ ของนายหรน  หมัดหลี  อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา  นายหรน  หมัดหลีเริ่มต้นทำการเกษตรจากการรู้จักชีวิตและครอบครัวของตัวเอง ในฐานะเกษตรกรยากจน เขาต้องรู้จักพืชที่ต้องการจะปลูกทุกชนิดเป็นอย่างดี และนำความรู้เหล่านั้นมาวางแผนการเพาะปลูก พืชชนิดใดจะให้ผลภายใน 1 เดือน  3 เดือน  6 เดือน  และ12 เดือน เพื่อให้ครอบครัวมีอาหารและรายได้ตลอดปี 
นอกจากนั้น นายหรน  หมัดหลียังมีความรู้เรื่องดิน ก่อนปลูกพืชทุกชนิดต้องมีการทดสอบว่าเหมาะสมกับดินบริเวณนั้นหรือไม่ มีความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและสังคมของพืช  ความรู้นี้มีพื้นฐานมาจากการร่ำเรียนแพทย์แผนไทย ทำให้เขามองพืชทุกชนิดว่ามีธาตุสี่ ได้แก่ ดิน น้ำ ลม และไฟ เช่นเดียวกับคน และได้ใช้ความรู้นี้มาวางหลักในการเพาะปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น หลักในการปลูกก็คือการนำพืชที่มีลักษณะตรงข้ามกันมาปลูกในหลุมเดียวกัน เช่น พืชที่มีธาตุน้ำต้องปลูกคู่กับพืชที่มีธาตุไฟ เป็นต้น การปลูกพืชในลักษณะนี้จะไม่ทำให้ต้นไม้แต่ละชนิดส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน ต้นไม้แต่ละชนิดต่างให้ดอกผลตามธรรมชาติของมันเอง
นายหรน  หมัดหลี เห็นว่าไม้ผลพันธุ์ดี เช่น ทุเรียนหมอนทองมีราคาแพง คนยากจนไม่มีกำลังซื้อ เขาจึงปลูกทุเรียนพื้นบ้าน ซึ่งมีราคาถูก ทำให้คนจนในชุมชนสามารถซื้อไปบริโภคได้ ตลาดของเขาจึงอยู่ที่หมู่บ้าน ไม่ใช่การส่งออกสู่เมืองใหญ่ หรือต่างประเทศ ตลาดของนายหรน  หมัดหลีจึงเป็นตลาดของคนยากคนจน หวังพึ่งตนเอง ทำให้เขาไม่ตกเป็นเบี้ยล่างของพ่อค้า
การเชื่อมโยงความรู้หลายด้านนี้เข้าด้วยกัน กลายเป็นองค์หรือชุดความรู้ด้านการเกษตรของนายหรน  หมัดหลี ที่เรียกว่า เกษตรกรรมธาตุสี่
2)  เทคนิค หรือวิธีการ หมายถึง กลวิธีหรือการจัดการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้สอดคล้องกับองค์ความรู้ เทคนิคหรือวิธีการจะมีความแตกต่างกันออกไปตามประเภทของภูมิปัญญา เช่น เทคนิคการผลิต เทคนิคการจัดการ และเทคนิคการเชื่อมประสานความสัมพันธ์ เป็นต้น
            ตัวอย่าง  จากองค์ความรู้ด้านการเกษตรธาตุสี่ ดังกล่าวแล้วข้างต้น นายหรน  หมัดหลีได้นำมาปฏิบัติผ่านทางเทคนิคหรือวิธีเพาะปลูกพืช  ในช่วงแรก เขาเริ่มปลูกพริก มะเขือ แตงกวา และตะไคร้ จากนั้นจึงปลูกกล้วย และไม้ผลไม้ยืนต้นอื่นๆตามมา โดยเฉพาะไม้ผลไม้ยืนต้น จะปลูกหลุมละ 3 ต้น แต่ละต้นมีธาตุต่างกันตามหลักการเพาะปลูกที่กล่าวข้างต้น นอกจากนั้น นายหรน  หมัดหลียังคำนึงถึงความสูง รูปทรง และลักษณะการให้ดอกออกผลของไม้แต่ละต้นที่นำมาปลูกร่วมกัน
            ในด้านการดูแลหรือบำรุงรักษาต้นไม้ นายหรน  หมัดหลีมีวิธีปฏิบัติที่สอดคล้องกับธรรมชาติ เช่น ไม่ถางหญ้าในหน้าแล้ง ใช้ปุ๋ยจากซากพืชซากสัตว์ที่เน่าเปื่อย และไม่ตัดแต่งกิ่ง เพราะเชื่อว่าธรรมชาติจะจัดการสิ่งเหล่านี้ด้วยตัวมันเอง กล่าวคือกิ่งที่อยู่ไม่ได้ ไม่เหมาะสมก็จะร่วงหล่นไปเอง
            ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นเทคนิคหรือวิธีการเพาะปลูกพืช ที่ทำให้สวนของนายหรน หมัดหลีมีลักษณะเฉพาะ แตกต่างจากสวนของเกษตรกรอื่นๆ แต่สอดคล้องกับองค์ความรู้ของตนที่สั่งสมมา
3)  การรับใช้ชีวิตในปัจจุบัน  ภูมิปัญญาชาวบ้านไม่ใช่เรื่องเล่าในอดีต ไม่ใช่ของเก่าที่แสดงในพิพิธภัณฑ์ แต่เป็นสิ่งที่มีตัวตน และผ่านการพิสูจน์แล้วว่าสามารถรับใช้วิถีชีวิตผู้คนในปัจจุบัน หรือมีพลังในสังคมยุคใหม่
การทำการเกษตรแบบธาตุสี่ของนายหรน  หมัดหลีได้พิสูจน์ให้เห็นว่าครอบครัวของเขามีอาหาร มีรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี และส่งเสียลูกจำนวน 11 คนให้ได้รับการศึกษาอย่างถึง และเกือบทั้งหมดเรียนจบระดับอุดมศึกษา  และการเกษตรแบบนี้ยังได้กลายเป็นตัวแบบหรือแบบอย่างที่ดีที่เกษตรกรทั่วประเทศเดินทางมาเรียนรู้อย่างไม่ขาดสาย
การพิจารณาองค์ประกอบของภูมิปัญญาชาวบ้าน ในฐานะความรู้ที่กล่าวนี้ ทำให้สามารถวิเคราะห์ต่อไปได้ว่า ภูมิปัญญาชาวบ้านน่าจะเป็นคำเดียวกับเทคโนโลยีชาวบ้าน เพราะเทคโนโลยีได้รวมเอาความรู้และเทคนิคไว้ด้วยกัน เทคโนโลยีไม่ใช่เครื่องมือ หรือเครื่องใช้ไม้สอยเพียงอย่างเดียว
ลักษณะของภูมิปัญญาชาวบ้าน
ภูมิปัญญาชาวบ้านทั้งในฐานะความรู้และกระบวนการจะมีลักษณะโดยรวม ดังนี้
1)      เป็นรวมที่เกี่ยวกับองค์ความรู้ เทคนิค และมีพลังในสังคมปัจจุบัน
2)  แสดงระหว่างความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติแวดล้อม และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ
3)      เป็นองค์รวม หรือเชื่อมโยงกิจกรรมทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต
4)  เป็นเรื่องของการแก้ปัญหา การจัดการ การปรับตัว การเรียนรู้เพื่อความอยู่รอดของบุคคล ชุมชน และสังคม
5)      เป็นแกนหลักหรือกระบวนทัศน์ในการมองชีวิต และเป็นพื้นฐานความรู้ในเรื่องต่างๆ
6)      มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับสมดุลในการพัฒนาทางสังคมตลอดเวลา
7)      มีลักษณะเฉพาะหรือเอกลักษณ์ในตัวเอง

    ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการของภูมิปัญญาชาวบ้าน
1)      ความรู้เดิมในเรื่องนั้นๆ ผสมผสานกับความรู้ใหม่ที่ได้รับ
2)      การสั่งสมและการสืบทอดความเรื่องในเรื่องนั้นๆ
3)      ประสบการณ์เดิมที่สามารถเทียบเคียงกับเหตุการณ์หรือประสบการณ์ใหม่
4)      สถานการณ์ที่ไม่มั่นคง หรือมีปัญหาที่ยังหาทางออกไม่ได้
5)      รากฐานทางพระพุทธศาสนา หรือศาสนาอื่นๆที่ผู้คนยึดถือ

 ภูมิปัญญาชาวบ้านสู่ภูมิปัญญาไทย

การให้ความหมายภูมิปัญญาชาวบ้านในฐานะกระบวนการดังที่ได้กล่าวแล้วในตอนต้น จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการวิเคราะห์ให้เห็นการเติบโตและการพัฒนาของภูมิปัญญาชาวบ้านเข้าสู่ภูมิปัญญาไทย หรือจากระดับชุมชนสู่ระดับชาติ กระบวนการภูมิปัญญา ซึ่งในที่นี้ใช้ในความหมายเดียวกับกระบวนการเรียนรู้ที่ได้เกิดขึ้นแล้วในทุกส่วนของประเทศ กำลังเติบโต และประสานพลังเข้าด้วยกันเพื่อแก้ปัญหาและสร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่ผู้คน ชุมชน และสังคมไทย
นับจากปี พ..2504 ซึ่งเป็นปีแรกที่ประเทศไทยได้ประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (..2504-2509) เป็นต้นมา รัฐบาลในขณะนั้นได้พยายามผลักดันนโยบายพัฒนาประเทศให้เข้าสู่ความทันสมัย ขณะที่ประชาชนและชุมชนยังไม่พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง ผู้ใหญ่วิบูลย์  เข็มเฉลิม ได้วิเคราะห์สภาพชุมชนและเกษตรกรในยุคนั้นว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯเกิดขึ้นในภาวะที่ชุมชนและเกษตรกรไม่พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่โง่หรือล้าหลัง แต่ไม่รู้จะเปลี่ยนไปทำไม เพราะขณะนั้นชุมชนมีเศรษฐกิจพอเพียง ทรัพยากรธรรมชาติสมบูรณ์ และระบบความสัมพันธ์แบบแบ่งปันทำให้คนในยุคนั้นมีชีวิตไม่เดือดร้อน   ผู้ใหญ่วิบูลย์  เข็มเฉลิมย้ำว่า คนในภาคเกษตรไม่พร้อม ผมเองก็ไม่พร้อม ไม่สามารถรองรับวิถีชีวิตจากนโยบาย แต่ต้องทำตามสั่งเรื่อยมา อาศัยเทคโนโลยีในการแก้ปัญหา เขาฝึกให้รู้จักขอ สุดท้ายใช้วิธีประท้วง อย่างไรก็ตาม ผลจากการใช้นโยบายของรัฐ ทำให้เกษตรกรและชุมชนต้องรับสิ่งใหม่ๆที่เข้ามาอย่างรวดเร็ว ระยะเวลาเพียงไม่กี่สิบปีหลังจากนั้นระบบการผลิต ความสัมพันธ์ และคุณค่าต่างๆ รวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนได้ถูกทำลายลงจนยากที่จะฟื้นฟูให้ได้ดังเดิม
ในช่วง 20 กว่าปีมานี้ เกษตรกรและชุมชนได้ปรับตัวครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง เมื่อพบว่าความสัมพันธ์ใหม่กับภายนอกทำให้ตนเสียเปรียบ การเรียนรู้ใหม่ทำให้เกิดการรวมกลุ่มสร้างองค์กรชุมชนหรือองค์กรชาวบ้านเพื่อจัดความสัมพันธ์ใหม่กับภายนอก จัดการทรัพยากรใหม่ และสร้างระบบเศรษฐกิจใหม่ที่จะทำให้ชุมชนอยู่รอดและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคมชุมชน
กระบวนการภูมิปัญญาชาวบ้าน  เป็นกระบวนการเรียนรู้แบบลองถูกลองผิด หรือทำไปเรียนไป ซึ่งเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปในชุมชนจำนวนมาก หัวใจของการเรียนรู้แบบนี้อยู่ที่การปฏิบัติ โดยเฉพาะชุมชนที่ได้พัฒนาการเรียนรู้มาแล้วระดับหนึ่ง และมองไม่เห็นทางออกภายใต้ระบบเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมวัฒนธรรมในขณะนั้น ชุมชนต้องการสิ่งใหม่หรือทางเลือกใหม่  ต้องการความรู้ใหม่ เมื่อไม่มีหน่วยงานหรือองค์ใดตอบสนองได้ชุมชนจึงต้องสร้างกิจกรรม เรียนรู้จากกิจกรรม และสรุปประสบการณ์ออกมาเป็นความรู้ใหม่ ระบบการจัดการใหม่ที่จะช่วยให้ชุมชนหลุดพ้นจากการครอบงำของระบบเก่า
ชุมชนไม้เรียง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งได้เรียนรู้ระบบการผลิตและการจัดการยางพาราใหม่ผ่านประสบการณ์ของกลุ่มเกษตรกรทำสวนไม้เรียง จนไม้เรียงกลายเป็นต้นแบบของอุตสาหกรรมชุมชน เป็นโรงเรียนให้กลุ่มเกษตรกรและชุมชนชาวสวนยางทั่วประเทศได้เรียนรู้และฝึกฝน  ที่สำคัญประสบการณ์ชุดนี้ได้กลายเป็นนโยบายในการส่งเสริมและพัฒนายางพาราของรัฐบาลในขณะนั้น ส่งผลให้เกิดโรงงานแปรรูปยางพารากระจายไปทุกจังหวัดที่ปลูกยาง ดังรายละเอียดที่กล่าวแล้วในกรณีศึกษาข้างต้น

พัฒนาการของภูมิปัญญาไทย

        แนวคิดสองกระแส

ในช่วงที่เพิ่งผ่านมานี้ ความล้มเหลวของการพัฒนาประเทศไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่เกิดขึ้นทุกหนทุกแห่งทั่วโลกที่ถูกครอบงำด้วยวัฒนธรรมตะวันตก ซึ่งมีวิธีคิดแบบแยกส่วน เน้นความเติบโตของเศรษฐกิจระดับมหภาค ขาดความสนใจผู้คนและชุมชนที่ถือเป็นฐานรากของประเทศ แม้ว่าวัฒนธรรมนี้ได้วางรากฐานทางวัตถุแก่โลกนานัปการ โลกที่เคยกว้างใหญ่ไพศาลกลับเล็กลงด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม ประชากรแทบทุกส่วนในโลกสามารถติดต่อและได้รับผลกระทบซึ่งกันและกัน   จนโลกปัจจุบันมีสภาพไร้พรมแดน หรือโลกาภิวัฒน์ (Globalization)
แต่อีกด้านของความเติบโตทางวัตถุก็ก่อให้เกิดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจำนวนมหาศาล และที่สำคัญคือ ผู้คนได้สูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง ไร้ศักดิ์ศรี และรู้สึกโดดเดี่ยวเพราะถูกตัดขาดจากกันทางสังคม ทำให้เกิดแนวคิดอีกกระแสหนึ่งขึ้นเรียกว่า กระแสชุมชนท้องถิ่น      พัฒนาการของภูมิปัญญาชาวบ้าน(Localization) ที่ให้ความสำคัญแก่คนและชุมชนในการกำหนดแนวทางการดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกับสังคมวัฒนธรรมของตน เพื่อให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความหมาย มีค่าและมีศักดิ์ศรี เป็นแนวคิดที่มองทุกสิ่งทุกอย่างเชื่อมโยงถึงกันแบบองค์รวม
ภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นในช่วงที่กระแสวิพากษ์วิจารณ์ทิศทางการพัฒนาประเทศกำลังแพร่หลายในสังคมไทย หรือเมื่อประมาณ 20 กว่าปีที่ผ่านมา ผลจากการปะทะกันของความคิดสองกระแสดังกล่าวข้างต้น ช่วยให้สังคมไทยมีโอกาสทบทวนแนวคิดและทิศทางการพัฒนาในอดีต แสวงหาทางเลือกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสังคมของเรา
การพัฒนาชนบท ซึ่งเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับชีวิตผู้คนจำนวนมากที่สุดในประเทศไทยนั้น แต่เดิมเป็นหน้าที่หรืองานของรัฐ กิจกรรมหรืองานพัฒนาในยุคแรกๆเกิดขึ้นบนพื้นฐานการมองประชาชนในฐานะโง่ จน เจ็บ ขาดความรู้เรื่องการทำมาหากิน ล้าหลัง ไม่ทันสมัย และด้อยพัฒนา เจ้าหน้าที่และหน่วยงานของรัฐจึงมีหน้าที่เข้าไปช่วยเหลือคนเหล่านั้นให้มีความรู้และรายได้เพิ่มขึ้น โดยการฝึกอบรมอาชีพ จัดหาแหล่งทุน และบางครั้งก็ช่วยจัดการด้านการตลาด บทบาทของชาวบ้านเป็นเพียงผู้รับ ส่วนรัฐเป็นผู้ให้ แนวทางการพัฒนานี้ได้กลายเป็นหลักในการทำงานในช่วง 20 ปีแรกของการพัฒนาชนบทไทย คือระหว่าง พ..2503-2523
แม้ว่าในช่วงเวลาดังกล่าว แนวคิดในการพัฒนาชนบทไทยจะเปลี่ยนไปบ้าง จากการเน้นเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มรายได้ให้ประชาชนมาเป็นแนวเศรษฐกิจ-สังคม เพราะเห็นว่าการพัฒนาต้องกะทำควบคู่กันทั้งสองด้าน จึงนำเรื่องกลุ่มเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่วิธีทำงานก็ยังไม่เปลี่ยนไปจากเดิม คือหน่วยงานและเจ้าหน้าที่รัฐเป็นผู้กำหนดและมีบทบาทสำคัญเหนือชาวบ้านตลอดมา
ปี พ..2524 ได้เกิดปรากฎการณ์สำคัญที่นำไปสู่การพลิกโฉมการพัฒนาชนบทไทยในเวลาต่อมา กล่าวคือ องค์กรเอกชน (Non-Government Organization =NGO) ที่ทำงานด้านการพัฒนาชนบทจำนวนหนึ่งได้ร่วมกันวิเคราะห์งานที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนั้น พร้อมกับตั้งคำถาม 25 ข้อ และจัดพิมพ์เป็นหนังสือเล่มเล็กๆชื่อ ใครพัฒนาใคร คำถามเหล่านี้เกิดจากงานพัฒนาที่ทำไปแล้วได้สร้างปัญหาให้ชาวบ้านมากมาย และวิธีการทำงานก็ยังเป็นแบบเดิม คือการสอน การบอกเล่า การจัดกระบวนการ และช่วยชาวบ้านทำงาน
ความหมายของภูมิปัญญาชาวบ้าน
   3.1     การให้ความหมาย  นักวิชาการและผู้ที่เกี่ยวข้อง สนใจงานด้านภูมิปัญญาต่างเห็นพ้องต้องกันในการให้ความหมายภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่ให้ความสำคัญต่อองค์ความรู้  ความรู้ และความรอบรู้ในด้านต่างๆของชาวบ้าน และชาวบ้านสามารถนำสิ่งเหล่านั้นมาใช้แก้ปัญหาที่ต้องประสบในชีวิตประจำวัน เพื่อให้ชีวิต ครอบครัว และชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข หรือเกิดดุลยภาพในทุกระดับ
ลักษณะของภูมิปัญญาชาวบ้าน

ภูมิปัญญาชาวบ้านทั้งในฐานะความรู้และกระบวนการจะมีลักษณะโดยรวม ดังนี้
1)      เป็นรวมที่เกี่ยวกับองค์ความรู้ เทคนิค และมีพลังในสังคมปัจจุบัน
2)  แสดงระหว่างความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติแวดล้อม และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ
3)      เป็นองค์รวม หรือเชื่อมโยงกิจกรรมทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต
4)  เป็นเรื่องของการแก้ปัญหา การจัดการ การปรับตัว การเรียนรู้เพื่อความอยู่รอดของบุคคล ชุมชน และสังคม
5)      เป็นแกนหลักหรือกระบวนทัศน์ในการมองชีวิต และเป็นพื้นฐานความรู้ในเรื่องต่างๆ
6)      มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับสมดุลในการพัฒนาทางสังคมตลอดเวลา
7)      มีลักษณะเฉพาะหรือเอกลักษณ์ในตัวเอง

       ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการของภูมิปัญญาชาวบ้าน
1)      ความรู้เดิมในเรื่องนั้นๆ ผสมผสานกับความรู้ใหม่ที่ได้รับ
2)      การสั่งสมและการสืบทอดความเรื่องในเรื่องนั้นๆ
3)      ประสบการณ์เดิมที่สามารถเทียบเคียงกับเหตุการณ์หรือประสบการณ์ใหม่
4)      สถานการณ์ที่ไม่มั่นคง หรือมีปัญหาที่ยังหาทางออกไม่ได้
5)      รากฐานทางพระพุทธศาสนา หรือศาสนาอื่นๆที่ผู้คนยึดถือ

การสื่อสารของมนุษย์

การสื่อสารของมนุษย์
      ภาษาคือสิ่งที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารซึ่งกันและกัน    ทำให้มนุษย์สามารถเข้าใจความหมาย ถ่ายทอดความคิด ประสบการณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ การสื่อสารด้วยภาษาของมนุษย์ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่มนุษย์สร้างขึ้นมาด้วยจุดประสงค์แตกต่างกัน  ภาษาที่มนุษย์มีหลายรูปแบบทั้งด้านการใช้เสียง  ภาพ  ท่าทาง สีหน้า สายตา  ตัวหนังสือ       และรูปแบบอื่นๆ  ซึ่งในบางครั้งอาจจะเกิดขึ้น   โดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ได้   แต่สิ่งสำคัญคือหากมนุษย์ไม่เรียนรู้หรือมีประสบการณ์ในการใช้ภาษาแล้วก็อาจทำให้เกิดความผิดพลาดเสีย
     นอกจากภาษาที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารความหายตามปกติแล้ว มนุษย์ยังได้สร้างภาษาเฉพาะขึ้นมาเพื่อ ใช้สื่อสารตามวัตถุประสงค์ของตนเองในอีกหลายลักษณะ เช่น ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารมวลชน  การโฆษณา  การประชาสัมพันธ์   ภาษาทางการฑูต  ภาษาราชการ  ภาษาทางการแพทย์   ภาษาทางวิชาการ   ภาษาวัยรุ่น  ภาษาในวงการสงฆ์ ฯลฯ  นอกจากนั้นยังมีภาษาที่ใช้ในกรณีพิเศษอื่นๆ อีกเช่น  ภาษาของคนหูหนวก  ภาษาของคนตาบอด   ภาษาดนตรี  การศึกษาเพื่อให้เข้าใจความหมายของภาษาเหล่านี้    เพื่อประโยชน์ในการสื่อสารของมนุษย์ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง
 รูปแบบที่ใช้ในการสื่อสาร
    การสื่อสารของมนุษย์นั้นมีหลายรูปแบบ  แต่ละประเภทมีลักษณะที่แตกต่างกันไป  การที่จะสื่อสารได้อย่างมีคุณภาพจึงมีความจำเป็นต้องเรียนรู้ถึงลักษณะเฉพาะของการสื่อสารแต่ละประเภทด้วย
           รูปแบบการสื่อสารต่างๆ ที่จะแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบได้ดังนี้
           1.    การสื่อสารส่วนบุคคล (Intrapersonal Commutation)
        2.    การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Commutation)
        3.    การสื่อสารมวลชน (Mass Communication)
    การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication)
    เป็นการสื่อสารที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป  ลักษณะพิเศษของการสื่อสารแบบนี้คือ มีการเผชิญหน้ากันในระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร  ทำให้การสื่อสารสามารถพัฒนาต่อไปได้  เพราะสามารถแก้ไขได้ในทันทีทันใดหากมีความผิดพลาดเกิดขึ้น   เป็นการสื่อสารที่สมบูรณ์เนื่องจากครบวงจรมีปฏิกิริยาโต้ตอบเกิดขึ้นในการสื่อสาร  ทำให้ผู้ส่งสารรู้ว่าผู้รับสารเข้าใจในสารที่ส่งไปหรือไม่    ถือว่าเป็นการสื่อสารที่มีคุณภาพสมบูรณ์ที่สุด มีประสิทธิภาพมากที่สุด ในกระบวนการสื่อสารทั้งหมด  
  องค์ประกอบที่ทำให้การสื่อสารประสบผลสำเร็จ
    องค์ประกอบของการสื่อสารของมนุษย์  มีลักษณะที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบของการสื่อสารของมนุษย์ อย่างที่กล่าวมาตอนแรกว่า  การสื่อสารของมนุษย์เกิดขึ้นจากการที่มนุษย์คิดวิธีการสื่อสารขึ้นมา  ดังนั้นการศึกษาเรื่ององค์ประกอบในการสื่อสารจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้การสื่อสารประสบความสำเร็จ  องค์ประกอบที่ง่ายที่สุดในการสื่อสารของมนุษย์เมื่อมีการสื่อสารเกิดขึ้น  ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
          1.    ผู้ส่งสาร
                2.    สาร
                3.    ผู้รับสาร
         การเริ่มต้นของการสื่อสารของมนุษย์จะเริ่มด้วยความปรารถนาของผู้ส่งสาร  ที่ต้องการจะส่ง
ข้อมูลนี้ไปยังบุคคลอื่น    ข้อมูลนี้อาจเป็นสิ่งที่มีอยู่ในตัวของเขาเองแต่เดิม    หรืออาจเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นในขณะนั้นก็ได้ นั่นก็คือ  สารที่มีอยู่ในตัวของเขานั่นเอง  แต่สิ่งที่เกิดขึ้นนี้เป็นเพียงแค่ความคิดที่มีอยู่ในตัวของเขาเท่านั้น  แต่หากจะถูกส่งต่อออกไปเพื่อให้เกิดความเข้าใจแล้ว  จำเป็นต้องมีการแปรความคิดเหล่านั้นออกเป็นสัญญาณ เช่น เสียง ภาพ หรือสิ่งอื่นๆ  เพื่อให้เกิดความเข้าใจได้  ซึ่งจะสามารถสื่อข้อมูลที่มีอยู่  ทั้งนี้โดยผ่านทางช่องทางต่างๆ ที่เรียกว่า ประสาทสัมผัสทั้ง 5
          ประสาทสัมผัสทั้ง 5  คือ การมองเห็น  การได้ยิน  การได้กลิ่น  การรู้รส และการสัมผัส จากนั้นผู้รับสารก็จะได้รับสัญญาณที่ผู้ส่งสารส่งมา  แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการสื่อสารครั้งนี้จะได้ผลตามที่ผู้ส่งสารต้องการ  เนื่องจากผู้รับสารอาจจะไม่เข้าใจสารที่ได้รับมา  ตามจุดประสงค์ของผู้ส่งสารก็ได้ เนื่องจากสิ่งที่เขามีอยู่ในตัวเองคือ  ประสบการณ์ หรือภูมิหลังของเขา  จะเป็นตัวแปลความหมายของสัญญาณที่เขาได้รับ เช่นเดียวกับที่ผู้ส่งสารเองก็มีประสบการณ์และภูมิหลังอยู่ประจำตัวของเขาเช่นเดียวกัน  ดังนั้น ในการสื่อสารระหว่างบุคคลแล้วโอกาสที่คน 2 คน  จะเข้าใจสิ่งต่างๆ  ได้ตามความต้องการของแต่ละฝ่ายนั้น  ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ หลายประการ  นั่นก็คือ
         1.    จุดประสงค์ของผู้ส่งสาร
               2.    สัญญาณที่ใช้ในการแปรสารของผู้ส่งสาร
               3.    ประสบการณ์ของผู้ส่งสาร
               4.    ช่องทางในการสื่อสาร
               5.    การแปลสารของผู้รับสารก่อนที่จะแปรเป็นสัญญาณเข้าไปสู่ผู้รับสาร
              6.    ประสบการณ์ของผู้รับสาร
                7.    สภาพแวดล้อมในขณะนั้น
   วัจนภาษาและอวัจนภาษา
    วิธีการสื่อสารของมนุษย์ที่ใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน คือ การสื่อสารทางวัจนภาษา (Verbal) และการสื่อสารทางอวัจนภาษา (Nonverbal)  วัจนภาษา  หมายถึง  ภาษาเสียง ได้แก่ ภาษาพูด  และภาษาเขียน  อวัจนภาษา ได้แก่  ภาษาที่ไม่ออกเสียง  แต่สามารถสื่อสารความหมายได้  ได้แก่  สีหน้า  ท่าทาง  สายตา  การวางท่า  ระยะห่าง  และน้ำเสียง  นอกจากนั้นก็อาจจะมีเรื่องราวของวัฒนธรรม  เวลาหรือภาษาที่ไม่ออกเสียงแต่สามารถสื่อความหมายได้
      การสื่อสารของมนุษย์มีความจำเป็นต้องคำนึงถึงภาษาทั้ง 2 ด้วย เพราะหากไม่ให้ความสนใจในอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็อาจจะเกิดความผิดพลาดหรือล้มเหลวได้โดยเฉพาะการสื่อสารแบบเผชิญหน้า ที่จำต้องมีการใช้ภาษาทั้ง 2 นี้ควบคู่กันไป  เพื่อช่วยให้เกิดความหมายชัดเจนขึ้น  การเลือกใช้วัจนภาษาจะเลือกใช้เมื่อสื่อความหมายที่ชัดเจน  และเกิดความรวดเร็ว  ส่วนใหญ่จะใช้ในการให้รายละเอียดขึ้อมูลจะได้ผลดีการใช้ภาษาตามจุดประสงค์
      การใช้ภาษาของมนุษย์มักจะเกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป    การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารธุรกิจ    ก็เป็นอีกรูปแบบของการสื่อสารของมนุษย์ที่มีจุดประสงค์แน่นอน  เพื่อการแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าหรือบริการของตน  โดยคำนึงถึงผลกำไรและขาดทุนเป็นหลัก  ไม่ได้เป็นการเจรจาเพื่อหวังผลอย่างอื่นไม่ว่าจะเป็นในฐานะเพื่อนฝูง  ความเสน่หาหรือกิจการอื่น   จุดมุ่งหมายสำคัญมีอย่างเดียวคือ     เพื่อผลทางธุรกิจเท่านั้น
          ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการใช้วิธีการเจรจาแบบเพื่อนฝูง  ญาติพี่น้อง หรือ สถานะอื่น  ก็มีความประสงค์อย่างเดียวเท่านั้นคือผลทางธุรกิจ  ซึ่งจะต้องมีเรื่องของผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ได้คำนึงถึงความไพเราะ  ความงดงามของภาษา  หรืออารมณ์ของความรู้สึกอื่นใด  หากจะมีเกิดขึ้นก็เมื่อผลประโยชน์เกิดขึ้นเพื่อธุรกิจเท่านั้น
       ในการเจรจาเพื่อธุรกิจนั้นมีลักษณะที่เด่นชัดอย่างหนึ่งคือ แต่ละฝ่ายไม่ว่าจะเป็นผู้รับสารหรือผู้ส่งสาร   ต่างก็มีจุดมุ่งหมายที่จะให้ตนเองได้ผลประโยชน์ของตนเองมากกว่าของผู้อื่น   ดังนั้นหากการเจรจา ปรากฏว่ามีฝ่ายใดได้ประโยชน์มากกว่าอีกฝ่ายหนึ่งเกินไป  หรืออีกฝ่ายไม่ได้ประโยชน์ใดเลย  การสื่อสารนี้ก็อาจจะไม่ประสบความสำเร็จ  หรือถ้าเกิดขึ้นจริงก็ย่อมจะเกิดความไม่พอใจในผลของการสื่อสารนี้อย่างแน่นอน แต่หากว่าการสื่อสารนี้เกิดผลประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน การสื่อสารก็จะเป็นความพอใจของทั้งสองฝ่ายในการที่มีผลออกมาเป็นเช่นนี้
          อย่างไรก็ตามการสื่อสารทางธุรกิจ  แต่ละฝ่ายก็ต่างหวังให้ตนเองได้ประโยชน์สูงสุดทั้งสิ้น ซึ่งโอกาสเป็นไปได้ยากที่จะให้เกิดความเท่าเทียมกันในผลประโยชน์ที่จะได้รับ  เราจะเห็นว่าถ้าเป็นการสื่อสารที่ต่างฝ่ายต่างได้ผลประโยชน์เท่าเทียมกันแล้ว  คุณภาพของการสื่อสารบรรยากาศของความเป็นมิตรจะเกิดขึ้นมากกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์  ดังนั้นหากเราต้องการจะรักษาสัมพันธภาพไว้ให้ยาวนาน  ความระมัดระวังในการสร้างข้อมูลเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันจะมีความสำคัญอย่าง
        รูปแบบในการสื่อสารทางธุรกิจเพื่อให้ประสบผลสำเร็จนั้นไม่ใช่มีแค่การเลือกใช้คำพูดเท่านั้น  แต่ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง  เช่น  สถานที่  บรรยากาศ  สถานการณ์ ฯลฯ  สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องคำนึงถึงให้มากด้วย  เพราะการที่คนเราจะเสียผลประโยชน์หรือได้ผลประโยชน์มักจะเกิดความรู้สึกที่มากกว่าการพูดคุยกันตามปกติในเรื่องทั่วไป
        นักธุรกิจถึงมักจะคำนึงถึงสถานที่หรือบรรยากาศในการเจรจาแต่ละครั้ง เช่น การใช้ สนามกอล์ฟเป็น Background ในทางเจรจามากกว่าในงานเลี้ยงสังสรรค์เพราะคนจะมีความผ่อนคลายมากกว่า การยอมรับหรือการมองเห็นสูงกว่า  เช่น  ก็สามารถมองเห็นได้ชัดเจนถึงความสำคัญของวัจนะภาษาที่จึงถือว่าเป็นด่านแรกกับ อวัจนะภาษาต้องทำให้ประสบผลสำเร็จ
       ผลลัพธ์ในการสื่อสารของมนุษย์
      การสื่อสารเป็นสิ่งที่ต้องใช้ความระมัดระวังมาก เพราะมีโอกาสที่จะเข้าใจผิดได้ง่าย เนื่องจากเป็นกิจกรรมร่วมระหว่างผู้รับสารและผู้ส่งสาร ต้องเป็นความรับผิดชอบของคนทั้ง 2 ฝ่าย หากฝ่ายใดไม่มีความรับผิดชอบโอกาสจะเกิดความผิดพลาดก็มีได้
      อย่างไรก็ตามกระบวนการสื่อสารจำเป็นต้องมีวิธีและกระบวนการที่พิจารณาอย่างละเอียด การสื่อสารไม่ใช่แค่การระบายความคิดที่เรามีอยู่เท่านั้น เพราะไม่ใช่แค่การถ่ายทอดเหมือนการถ่ายทอดดนตรี ไม่มีการคำนึงถึงการรับรู้ของผู้รับสาร  ถ้าเป็นการสื่อสารแล้วจะต้องมีการรับรู้ของผู้รับสารเกิดขึ้นด้วย  ไม่ใช่การส่งออกจากผู้ส่งสารอย่างเดียว  การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพที่สุด คือ การสื่อสารที่สอดคล้องและเชื่อมโยงกับกระบวนการการรับสารของผู้รับสาร
      การปรับปรุงทักษะการสื่อสารของตนเองถือเป็นขั้นตอนแรกของการพัฒนาประสิทธิภาพในกระบวนการสื่อสาร  นั่นคือต้องมีการปรับปรุงความสามารถในการฟัง  การสังเกต  การอ่านและการมองก่อนที่จะไปปรับปรุง การพูดหรือการเขียน
       จะเห็นว่า  การพัฒนาทักษะนั้นต้องเริ่มจากการเป็นผู้รับสารที่ดีก่อน จึงเข้าก้าวไปสู่การเป็นผู้ส่งสารผ่านทางวัจนภาษา       การเข้าใจกระบวนการสื่อสารให้ดีจะเข้าใจได้ถึงความซับซ้อนของกระบวนการสื่อสาร แต่ถ้าเราใช้เวลานานขึ้นในการศึกษาและปรับปรุงทักษะในการสื่อสารเราก็จะเข้าใจและสามารถควบคุมได้  เหมือนกับลมหายใจเข้าออกของเราที่มีติดตัวเราอยู่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้  แต่หากเรารู้จักวิธีการควบคุมเราก็จะได้ประโยชน์จากการหายใจเช่นเดียวกับ ได้ประโยชน์จากการสื่อสารเช่นเดียวกัน  เพียงแต่เราต้องเรียนรู้วิธีการที่เหมาะสมเท่านั้น